วันอังคารที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2552

ข้าวซอยไก่



ส่วนผสม

1. น่องไก่ 1 กิโลกรัม
2. เส้นข้าวซอย 1/2 กิโลกรัม
3. น้ำมันพืช 1 ถ้วย
4. กะทิ 3 ถ้วย


เครื่องแกง

1. พริกแห้ง 10 เม็ด
2. กระเทียม 10 กลีบ
3. หอมแดง 10 หัว
4. ผิวมะกรูด 1 ลูก
5. กระชาย 5 หัว
6. ขมิ้น 2 ชิ้น
7. ตะไคร้ซอย 2 ช้อนโต๊ะ
8. น้ำตาลปี๊บ 2 ช้อนโต๊ะ
9. กะปิ 3 ช้อนโต๊ะ
10. ผงกะหรี่ 1 ช้อนโต๊ะ

เครื่องเคียง


1. พริกป่นผัดน้ำมัน
2. หอมแดง
3. ผักกาดดอง
4. มะนาว
5. ผักชี
6. ต้นหอม


วีธีทำ



1. โขลกเครื่องแกงรวมกันให้ละเอียด



2. ตั้งน้ำกะทิประมาณ 1 ถ้วย พอเดือด


3. ใส่เครื่องแกงผัดจนหอม




4. ใส่ผงกะหรี่ละลายน้ำเล็กน้อย


5. ใส่ไก่ ผัดให้เข้ากัน เติมน้ำเล็กน้อย ใส่น้ำตาลปี๊บ แล้วเติมกะทิ เคี่ยวต่อจนไก่นุ่ม



7. ลวกเส้นข้าวซอยกับน้ำเดือดประมาณ 1 นาที แล้วนำมาลวกในน้ำเย็น

ผัดไทยกุ้งสด



"ผัดไทย" นับว่าเป็นอีกหนึ่งเมนูอาหารไทยที่ขึ้นชื่อลือชา ไม่แพ้ต้มยำกุ้ง เป็นที่รู้จักของชาวต่างชาติที่ชื่นชอบอาหารไทยทั้งหลาย เพราะว่าด้วยรสชาติของผัดไทยแล้วนั้น เรียกว่าถ้าใครได้ลองกินแล้วเป็นต้องติดใจ เส้นนุ่มๆ เหนียวๆ เคล้ากับเครื่องปรุงครบสูตรของผัดไทย มีทั้งกุ้งแห้ง เต้าหู้ ไชโป้ และถ้าเด็ดสุดๆ ใส่กุ้งตัวโตๆ มาด้วย"

ความเป็นมาของผัดไทย
ผัดไทยได้กลายมาเป็นอาหารที่รู้จักกัน แพร่หลายจนกระทั่งถตั้งแต่ สมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม ซึ่งในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านได้รณรงค์ให้คนไทยมารับประทานผัดไทย ซึ่ง 2 จุดประสงค์ด้วยกันคือ

1. รณรงค์ให้อุปโภคอาหารไทยมากขึ้น สร้างความสามัคคีกันและรักชาติ
2. รณรงค์ให้ประชาชนหันมานิยมรับประทานก๋วยเตี๋ยวมากขึ้น เพื่อลดปริมาณการบริโภคข้าว ซึ่งขาดแคลน ในช่วงสงคราม ภาวะเศรษฐกิจตกตํ่า
เนื่องจากผัดไทยเป็นอาหารที่นิยมมาก จึงหารับประทานง่าย มีขายทั่วไปและรสชาติอร่อย ร้านผัดไทยแต่ละร้าน จะมีสูตรวิธีการปรุงและเทคนิคเฉพาะตัวของแต่ละร้านที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งสืบทอดต่อกันมาหลายปี ถึงมีการกล่าวว่า ประเทศไทยมีสารพัดแกงซึ่งสามารถกินไม่ซ้าแต่ละวัน แต่ผัดไทยก็เช่นกันมีวิธีการปรุงซึ่งไม่ซ้ำกันแต่ละร้านเช่นกัน

สำหรับใครที่ชื่นชอบกินผัดไทยเป็นทุนเดิม วันนี้เราหยิบเอาวิธีการทำ "ผัดไทยกุ้งสด" มาฝากกันค่ะ

ส่วนผสม
เส้นจันท์ 1 กิโลกรัม
กุ้งกุลาดำตัวกลาง 200 กรัม
กุ้งแห้ง 100 กรัม
เต้าหู้เหลืองแข็งหั่นชิ้นเล็กๆ 1 แผ่น
หัวไชโป๊วสับ 100 กรัม
พริกป่น 50 กรัม
ถั่วลิสงคั่วบุบหยาบๆ 100 กรัม
ไข่ไก่ 4 ฟอง
ถั่วงอก 1/2 กิโลกรัม
กุยช่ายหั่นเป็นท่อน 200 กรัม
กระเทียมสับละเอียด 50 กรัม
น้ำมะขามเปียก 1/2 ถ้วย
น้ำปลา 1/2 ถ้วย
น้ำตาลทราย 1/2 ถ้วย
น้ำมันพืช 1/2 ถ้วย
น้ำเปล่า 1 ถ้วย

เครื่องปรุง - ผักเคียง
พริกป่น น้ำตาลทราย น้ำปลา มะนาวฝาน หัวปลี กุยช่ายตัดสั้นเป็นต้น ถั่วงอกดิบ ใบบัวบก

วิธีทำผัดไทยกุ้งสด
1. กุ้งแกะเปลือกผ่าหลัง เอาหัวไว้ ล้างน้ำให้สะอาด
2. กระทะใส่น้ำมันพืช 2 ช้อนโต๊ะ ตั้งไฟกลาง พอน้ำมันร้อนใส่กระเทียมสับลงเจียวพอหอม ใส่กุ้งสดลงผัดพอสุกตักขึ้น ใส่เต้าหู้ลงทอด หัวไชโป๊วสับ ถั่วลิสงบุบ กุ้งแห้ง ใส่เส้นจันท์และน้ำเปล่าเล็กน้อยลงผัดพอเส้นนุ่ม
3. ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำตาลทราย น้ำมะขามเปียก พริกป่น ผัดพอเข้ากัน ตักขึ้นพักไว้
4. ตอกไข่ลงขยี้พอให้สุก นำเส้นที่ผัดไว้เรียบร้อยลงโปะ ผัดให้เข้ากัน
5. เติมถั่วงอก ใบกุยช่าย ผัดให้เข้ากัน ใส่กุ้งที่ผัดสุกไว้แล้วลง
ตักเสิร์ฟพร้อมผักเยง เครื่องปรุงรสที่เตรียมไว้














วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2552

หยิบหมอก หยอกดอกกระเจียว


จังหวัดชัยภูมิ ร่วมกับ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) สำนักงานนครราชสีมา และหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ขอเชิญทุกท่านร่วม “หยิบหมอก หยอกดอกกระเจียว” งานเทศกาลท่องเที่ยวดอกกระเจียวงามจังหวัดชัยภูมิ ประจำปี 2552 ในระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน – 31 สิงหาคม 2552 ณ อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม อำเภอเทพสถิต และ อุทยานแห่งชาติไทรทอง อำเภอหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ

ทุ่งกระเจียวบานกลางลานหิน
อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม อยู่ในพื้นที่อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ มีสภาพป่าสมบูรณ์ เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของลุ่มน้ำชีและแม่น้ำป่าสักมีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่งโดยเฉพาะทุ่งดอกกระเจียว มีเนื้อที่ประมาณ 62,437.50 ไร่ หรือ 99.9 ตารางกิโลเมตรความเป็นมา เดิมบริเวณลานหินงามเป็นที่รู้จักเฉพาะราษฎรในท้องถิ่น ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2528 นายอำเภอเทพสถิต และป่าไม้อำเภอเทพสถิต ได้ออกตรวจพื้นที่และพบกับลานหินธรรมชาติที่มีรูปร่างสวยงามมีคุณค่าควรอนุรักษ์ไว้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและพักผ่อนของบุคคลทั่วไป จึงเสนอเรื่องไปยังกรมป่าไม้ผ่านทางจังหวัดชัยภูมิ ในชั้นต้นกรมป่าไม้ได้ประกาศเป็นวนอุทยานป่าหินงาม เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2529 ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 10 ตารางกิโลเมตร หรือ 6,250 ไร่ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2536 กรมป่าไม้ได้ทำการสำรวจพื้นที่ใกล้เคียงอย่างละเอียด และพบว่ายังมีพื้นที่ป่าไม้อุดมสมบูรณ์ เมื่อรวบรวมพื้นที่แล้วประมาณ 112 ตารางกิโลเมตร หรือ 70,000 ไร่ โดยพื้นที่ดังกล่าวได้กันหมู่บ้านออกจากพื้นที่เรียบร้อยแล้วโดยการปฏิรูปที่ดิน อีกทั้งพื้นที่เตรียมจัดตั้งนี้มีความโดดเด่นทางธรณีวิทยา มีลานหินที่มีรูปลักษณ์สวยงาม มีพันธุ์ไม้ล้มลุกประจำถิ่น ที่มีดอกสีชมพูอมม่วงชูดอกสะพรั่งในช่วงต้นฤดูฝน มีน้ำตกไหลตลอดปี สมควรที่จะอนุรักษ์ไว้ในรูปแบบของอุทยานแห่งชาติต่อมากรมป่าไม้มีคำสั่งที่ 1642/2537 ให้ นายวิวัฒน์ จันทร์เผือก นักวิชาการป่าไม้ 5 ตำแหน่งเลขที่ 2459 อุทยานแห่งชาติรามคำแหง จังหวัดสุโขทัย ไปดำเนินการจัดตั้งพื้นที่ป่าดังกล่าวให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 และให้ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าอุทยานแห่งชาติป่าหินงามแห่งนี้ด้วยต่อมาปี 2550 ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่านายางกลัก ในท้องที่ตำบลโป่งนก ตำบลนายางกลัก ตำบลบ้านไร่ ตำบลวะตะแบก อำเภอเทพสถิต และตำบลซับใหญ่ กิ่งอำเภอซับใหญ่ อำเภอจตุรัส จังหวัดชัยภูมิ ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนที่ 26 ก ลงวันที่ 6 มิถุนายน 2550 จัดเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 105 ของประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขา ประกอบไปด้วยภูเขาต่างๆ เช่น เขาพังเหย มีความสูงประมาณ 200 - 800 เมตร ทางธรณีวิทยาของพื้นที่เป็นหมวดหินภูพานหมวดหินพระวิหาร และหมวดหินภูกระดึง เป็นหินในระหว่างช่วงเวลาประมาณ 180 - 230 ล้านปี ยุคจูแลสสิกและไทรแอสสิก เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารลุ่มน้ำชี (แม่น้ำชี) ลำน้ำสนธิซึ่งไหลลงแม่น้ำป่าสัก
ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศโดยทั่วไป อยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ จากลักษณะของแนวเทือกเขาพังเหยกั้นอยู่ในแนวเหนือ–ใต้ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ ที่พัดพาเอาความชุ่มชื้นจากทะเลมาตกเป็นฝนในพื้นที่เป็นปริมาณมากจากข้อมูลของสถานีตรวจอากาศอุทยานแห่งชาติป่าหินงามในระหว่าง พ.ศ. 2543–2546 พบว่ามีปริมาณน้ำฝนตลอดปีเฉลี่ย 1,782.6 มิลลิเมตร มีจำนวนวันที่ฝนตก 109 วัน/ปี โดยมีฝนตกชุกมากที่สุดในเดือนสิงหาคม วัดได้ 338.3 มิลลิเมตร ส่วนอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดในเดือนเมษายน วัดได้ 33 องศาเซลเซียส และเฉลี่ยต่ำสุดในเดือนธันวาคม วัดได้ 18.3 องศาเซลเซียส โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี วัดได้ 24.8 องศาเซลเซียส สำหรับฤดูกาลเมื่อพิจารณาตามลักษณะอุณหภูมิ ประมาณน้ำฝน และความชื้นสัมพัทธ์แล้ว สามารถแบ่งฤดูกาลได้ดังนี้
ฤดูฝน อยู่ระหว่างเดือนพฤษภาคม - กันยายน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 278.5 มิลลิเมตร
ฤดูหนาว อยู่ระหว่างเดือนตุลาคม - มกราคม อุณหภูมิเฉลี่ย 23.2 องศาเซลเซียส
ฤดูร้อน อยู่ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน อุณหภูมิเฉลี่ย 25.9 องศาเซลเซียส